วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟาร์มกุ้ง

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม 

  การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนา 


               กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งนาง หรือ กุ้งหลวง เป็นกุ้งชนิดเดียวกัน กุ้งก้ามกรามมีกระจายอยู่ทั่วไปในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย เมียนม่า เวียดนาม เขมร อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ปกติกุ้งก้ามกรามสามารถพบได้ทั้งปี และ ส่วนมากจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ทะเลสาบที่มีเขตติดต่อกับแม่น้ำ กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งที่นิยมรับประทานกันมากในภูมิภาคเอเชีย ทั้งไทย เมียนม่า ลาว มาเลเซีย รวมทั้งจีน ฮ่องกง และ ไต้หวัน เป็นต้น ปัจจุบันมีบางประเทศในยุโรปหันมารับประทานกุ้งก้ามกรามกันบางแล้ว ชีววิทยาของกุ้งก้ามกราม ชื่อเรียกทั่วไปในท้องถิ่นต่างๆ กุ้งก้ามกราม , กุ้งนาง , กุ้งหลวง , กุ้งก้ามเกลี้ยง , กุ้งแห ,กุ้งใหญ่ ชื่อสามัญ Giant Fershwater Prawn ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobrachuim rosenbergii de man อนุกรมวิธาน Phylum Arthpoda Class Crustacea Order Decapoda Suborder Natantia Family Palaemonidae Genus Macrobrachium Species rosenbergii การผสมพันธุ์วางไข่ ในระยะแรกกุ้งตัวผู้และตัวเมียจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เท่ากัน แต่เมื่อมาถึงระยะหนึ่งคือ เมื่อมีความยาวได้ประมาณ 12 ซ.ม. และหนักประมาณ 20 กรัม กุ้งตัวผู้จะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนตัวเมียจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าตัวผู้มากในระยะนี้เนื่องจากเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และต้องใช้อาหารไปในกระบวนการสร้างรังไข่เพื่อการผสมพันธุ์วางไข่ กุ้งก้ามกรามตัวผู้เมื่อกุ้งวัยเจริญพันธุ์และพร้อมที่จะผสมพันธุ์กรามจะใหญ่กว่าตัวเมีย กุ้งตัวผู้จะมีช่องเปิดของน้ำเชื้ออยู่ที่โคนขาเดินคู่ที่ 5 กุ้งตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้และมีช่องเปิดของอวัยวะเพศอยู่ที่โคนขาเดินคู่ที่ 3 กุ้งตัวเมีย กุ้งตัวเมียเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมีรังไข่สุกอยู่ภายในบริเวณเปลือกคลุมหัวจะเป็นสีส้ม ลักษณะเช่นนี้ชาวบ้านทั่วไปจะเรียกแก้วกุ้ง หรือ กุ้งแก้ว ก่อนการผสมพันธุ์กุ้งตัวเมียจะลอกคราบก่อนครั้งหนึ่งและจะปล่อย ฟีโรโมน ดึงดูดตัวผู้ให้เข้าหาและผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 6 - 10 ชั่วโมง กุ้งก้ามกรามตัวเมียจะเริ่มวางไข่ ตัวเมียจะวางไข่บริเวณหน้าท้อง ปกติแล้วกุ้งตัวเมียน้ำหนัก 80 กรัมและยาว 18 ซ.ม. สามารถผลิตไข่ได้ประมาณ 60,000 ฟอง และ ถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้อาจมีไข่ได้ถึง100,000 ฟอง / ตัว ตัวเมียที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์สามารถที่จะวางไข่ได้ 2 ครั้ง ในระยะ 5 เดือนดังนั้น 1 ปี กุ้งก้ามกรามอาจวางไข่ได้ถึง 3 - 4 ครั้ง ไข่ที่ผสมแล้วกุ้งก้ามกรามตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาติดไว้ที่หน้าท้องแล้วจะฟักภายใน 19 - 20 วัน ที่อุณหภูมิ 26 - 28 องศาเซลเซียส ลูกกุ้งที่ฟักใหม่ๆ ในระยะ กุ้งวัยอ่อน เป็นพวกที่ชอบแสงมากว่ายไปข้างหลังในท่าตีลังกาเฉียงคล้ายลูกยุง

พัฒนาการของลูกกุ้งวัยอ่อน
                ลูกกุ้งวัยอ่อนในระยะแรกจะว่ายน้ำรวมกันเป็นกลุ่มจนกระทั่งมีอายุ 10 วัน ลูกกุ้งวัยอ่อนต้องอาศัยอยู่ในน้ำเค็มประมาณ 10 - 15 ppt. จนกว่าจะอายุจะครบ 35 วันโดยประมาณ ลูกกุ้งวัยอ่อนที่อยู่ในน้ำจืดจะตายภายใน 5 วัน ลูกกุ้งวัยอ่อนจะกินตลอดเวลาอาหารของลูกกุ้งก้ามกรามวัยอ่อนได้แก่ ไรแดง และ ไรน้ำอื่นๆ ร่วมทั้งซากพืช เป็นต้น ลูกกุ้งวัยอ่อนจะมีการลอกคราบจนครบ 11 ครั้ง จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นกุ้งวัยรุ่นซึ่งมีลักษณะทั่วไปเหมือนพ่อแม่ และ จะเปลี่ยนไปอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืดต่อไป รูปที่ 1. กุ้งวัยรุ่นจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์โดยใช้เวลา 4 - 5 เดือนและจะกลายเป็นกุ้งก้ามกรามพ่อแม่พันธุ์ต่อไป

ลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม
               ลูกพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่นำมาปล่อยเลี้ยงอนุบาลในบ่อดินนั้นจะต้องเป็นลูกกุ้งก้ามกรามที่คว่ำ(กุ้งคว่ำ) แล้วจากโรงเพาะฟักลูกกุ้ง ซึ่งจะมีอายุเฉลี่ยโดยประมาณ 30 วัน มีความยาวประมาณ1 ซ.ม. และปรับให้อยู่ในน้ำจืดแล้วจึงจะนำมาเลี้ยงในบ่อดินได้ ลูกกุ้งก้ามกรามที่ดีต้อง แข็งแรงว่ายน้ำปกติ ลำตัวใสไม่ขาวขุ่น อาหารเต็มลำไส้แพนหางกางไม่หุบและลูกกุ้งก้ามกรามที่จะนำลงเลี้ยงในบ่อดินต้องปรับน้ำให้อยู่ในน้ำจืดก่อนอย่างน้อย 2 วัน จึงจะสามารถนำไปเลี้ยงในบ่อดินต่อไป

การปล่อยกุ้งก้ามกรามลงเลี้ยง
               การปล่อยลงกุ้งก้ามกรามลงเลี้ยงควรทำหลังจากเตรียมสีน้ำแล้ว แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน นับจากวันที่สูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยง เนื่องจากหากปล่อยไว้นานศัตรูของกุ้งตามธรรมชาติจะเจริญเติบโต ทำอันตรายและจับกุ้งกินได้ น้ำในบ่อต้องมีระดับความลึกระหว่าง 60 - 80 ซ.ม.ในช่วงแรกของการปล่อย

อาหารและการให้อาหาร
              การให้อาหารกุ้งก้ามกรามแตกต่างจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบางส่วน โดยเฉพาะในช่วง60 วันแรก การให้อาหารกุ้งก้ามกรามสามารถตรวจสอบการกินอาหารได้โดยการเช็คยอ แต่เมื่อกุ้งก้ามกรามอายุ 3 เดือนขึ้นไป การตรวจสอบการกินอาหารและปรับอาหารไม่สามารถทำได้โดยการเช็คยอ แต่สามารถทำได้โดยใช้สวิงตักดูว่ามีอาหารเหลือที่พื้นบ่อว่าเหลือมากน้อยเพียงใด

1. การให้อาหารกุ้งก้ามกราม (กุ้งคว่ำ) อายุ 1 - 60 วัน ในบ่ออนุบาลการให้อาหารกุ้งก้ามกรามสำหรับกุ้งก้ามกราม ( กุ้งคว่ำ ) 100,000 ตัว ในบ่ออนุบาลซึ่งเป็นบ่อดิน (บ่อชำ ) แบ่งเป็น 2 ระยะ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระยะ 1 - 60 วัน สามารถ ตรวจสอบการกินอาหารของกุ้งก้ามกรามโดยการเช็คยอ
             1.1 ลูกกุ้งคว่ำอายุ 1 - 30 วัน ในบ่อดินจะให้อาหาร 0.5 กก. / 100,000 ตัว หรือ ประมาณ 30 - 40 % ของน้ำหนักตัว และจะทำการเพิ่มอาหารขึ้นวันละ 200 กรัม / วัน กรณีที่ให้อาหารสำเร็จรูปจะให้อาหาร เบอร์ 0 ในวันที่ 1 - 3 ถ้าไม่มีอาหารสำเร็จรูป อาจใช้ปลาป่นผสมกับรำข้าวละเอียดแช่น้ำไว้ 4 - 5 ชั่วโมงแล้วสาดให้ทั่วบ่อให้กุ้งกิน , เบอร์ 0 ร่วมกับ เบอร์ 1 ในวันที่ 4 - 10, เบอร์ 1 ในวันที่ 10 - 15 , เบอร์ 1ร่วมกับ เบอร์ 2 ในวันที่ 16 - 30 การให้อาหารกุ้งควรหว่านให้ห่างจากขอบบ่อ 1 - 3 เมตร
             1.2 ลูกกุ้งอายุ 31 - 60 วัน จะให้อาหาร เบอร์ 2 ร่วมกับ เบอร์ 3 ซึ่งกุ้งกุ้งก้ามกรามจะที่น้ำหนักเฉลี่ย 2 - 5 กรัม เมื่ออายุครบ 60 วันมีความยาวเฉลี่ย 3 - 5 ซ.ม. การให้อาหารกุ้งก้ามกรามในช่วง 1 - 60 วันจะแบ่ง 4 ครั้ง / วัน โดยยึดแนวคิดที่ว่าให้น้อยๆ แต่ปล่อยครั้ง แบ่งเป็น ช่วงระยะเวลาที่ให้ดังนี้ 07.00 น. , 10.00 น. , 14.00 น. , 18.00 น.เมื่ออนุบาลครบ 60 วัน ทำการย้ายกุ้งจากบ่อชำไปเลี้ยงในบ่อขุนต่อไป

2. การให้อาหารกุ้งก้ามกรามในบ่อกุ้งขุน
             2.1 กุ้งอายุ 61 - 90 วัน จะให้อาหารเบอร์ 4 ร่วมกับเบอร์ 5 โดยให้อาหาร 3 ครั้ง / วัน ในช่วงเวลา 07.00 น. , 14.00 น. , 18.00 น.
             2.2 กุ้งอายุ 90 วันขึ้นไป อาหารกุ้งจะใช้เบอร์ 6 การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง โดยให้ในช่วงเช้า
07.00 น. และ 18.00 น. เนื่องจากกุ้งก้ามกรามจะกินอาหารมากในช่วงกลางคืนจึงควรแบ่งการให้อาหารในช่วงเช้า 3 ส่วน และช่วงกลางคืน 7 ส่วน กุ้งในช่วงอายุนี้จะกินอาหาร 3 - 5 % ของน้ำหนักตัว และ ไม่สามารถตรวจสอบการกินอาหารของกุ้งก้ามกรามจากยอได้ การตรวจสอบการกินอาหารจึงต้องตรวจสอบอาหารที่เหลือที่พื้นบ่อ การปรับอาหารต้องทำการสุ่มน้ำหนักกุ้งโดยการทอดแหนำกุ้งมาชั่งน้ำหนัก หาค่าเฉลี่ยของน้ำหนักกุ้งทั้งบ่อแล้วปรับอาหารตามความต้องการอาหารคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ / น้ำหนักตัว แสดงในตารางที่ 1. โดยปกติการปรับอาหารในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจะทำการปรับอาหารทุก 7 วัน
** กุ้งก้ามกรามอายุ 2 เดือน ตรวจสอบการกินอาหารได้โดยการใช้ยอ

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับกุ้งก้ามกราม
              ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจะใช้เวลาในการเลี้ยง 8 - 10 เดือน แล้ว จะเริ่มทำการจับและ คัดเอากุ้งตัวเมียที่ไข่ กุ้งจิ๊กโก๋ ออกขายก่อนในช่วง 3.5 - 4 เดือน หลังจากนั้นจะทำการจับและคัดขนาดกุ้งขายทุกๆ เดือน กุ้งก้ามกรามที่มีขนาด 12 - 15 ตัว / กก. เป็นที่ต้องการตลาดและราคาดีกว่ากุ้งก้ามกรามที่มีขนาดเล็ก

โรคและการจัดการโรคกุ้งก้ามกราม

โรคเปลือกผุ โรคจุดดำ จุดสีน้ำตาล
สาเหตุ ของโรค : เริ่มจากเปลือกเป็นแผล เนื่องจากถูกกระแทกจากการจับหรือกุ้งทำร้ายกันเองหลังจากนั้น แบคทีเรียจะเข้าทำลายอาการของโรค : เปลือกผุกร่อนไปเรื่อยๆ โดยจะเริ่มจากเปลือกนอก จากนั้นจะลุกลามเข้าสู่ด้านใน บริเวณที่เป็นมากที่สุดคือ ซี่เหงือก กล้ามเนื้อท้อง ปลายหาง และ ขาเดินเมื่ออาการรุนแรงกุ้งจะนอนตะแคงบนพื้นและเคลื่อนไหวได้เฉพาะส่วนขาเดิน หนวดการป้องกันโรค : ระวังการจับและการเคลื่อนย้ายระวังอย่าให้กุ้งถูกกระทบจนบาดแผลระหว่างการจับ การรักษา : ฆ่าเชื้อในน้ำด้วยไอโอดีน เอ็กซ์ตร้าดีน 5000 1 ขวด / 4ไร่ ทุกๆ 15 วัน หรือ หลังจากใช้อวนจับกุ้งไปแล้ว 2 วัน กรณีที่มีการติดเชื้อภายในให้กินยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 5 - 7 วัน

โรคแก้มดำ
สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อ แอโรโมแนส ไฮโดฟิลลา และ ฟลาโวแบคทีเรียอาการของ โรค : ช่องเหงือกมีสีดำ อาจดำทั้งเหงือกและฝาปิดเหงือกด้านใน การป้องกัน : เปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อลดปริมาณชื้อโรค ใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายของเสียและลดสารอินทรีย์ในบ่อ กรณีที่พบมีการระบายของโรคต้องทำการฆ่าเชื้อในน้ำโดยใชไอโอดีนเพราะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การรักษา : ให้กินยาปฏิชีวนะติดต่อกัน  5 - 7 วัน

โรคคอบวมคอหนอก
สาเหตุของโรค : สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มักพบในสภาพการเลี้ยงที่บ่อเลี้ยงมีคุณภาพเลวและ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารอาการของ โรค : บริเวณรอยต่อของเปลือกหัวกับปล้องแรกมีการบวมน้ำ มีการอักเสบ ขอบเปลือกปล้องที่หนึ่งผุ กร่อนเป็นสีดำกุ้งที่เป็นโรคพบได้ทั้งตัวสกปรกและตัวสะอาด พบมีการตายของกุ้งตายจมน้ำตามขอบบ่อ การรักษา : ให้กินยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 5 - 7 วัน

โรค ทีจี
โรคทีจี พบในกุ้งขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกุ้งก้ามสีฟ้า หรือ กุ้งตัวผู้ ส่วนกุ้งตัวเมียเป็นโรคนี้ 0 - 6 % กุ้งก้ามกรามตัวผู้เป็นโรคนี้มากและเป็นตลอดทั้งปี กุ้งก้ามกรามที่มีอาการของโรครุนแรงจะเฉื่อยและเคลื่อนไหวช้าไม่สามารถยกก้ามขึ้นมาเสมอกับระดับลำตัวได้ อาการของโรค : กุ้งก้ามกรามเฉื่อย อ่อนแอ เคลื่อนที่ไหวช้าหรือไม่สามารคเคลื่อนไหวได้เลยเนื้อขาขุ่นทั้งตัว ตับและตับอ่อนจะฝ่อขนาดเล็กลง มีเลือดคั่งบริเวณช่องทางเดินอาหารก่อนถึงกระเพาะ บางครั้งพบจุดสีน้ำตาลตามเปลือก และ เนื้อจะมีความชื้นมากกว่ากุ้งปกติ 10 % เมื่อต้มเนื้อจะร่อนออกจากเปลือก การป้องกันโรค : รักษาสภาพแวดแล้วของบ่อเลี้ยงให้ดีอยู่เสมอ บ่อที่เลี้ยงมานานหากพื้นบ่อเน่าเสีย ควรปรับสภาพพื้นบ่อโดยใช้ซีโอไลท์ 25 กก. / ไร่ หรือ ไคลแม็กซ์ ไคลน็อปทิโลไลท์10 กก. / ไร่

การรักษาโรค : หากเริ่มพบว่ากุ้งก้ามกรามมีอาการของโรค ให้กินยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 5 - 7 วัน การสะสมไขมันในตับและตับอ่อน การสะสมไขมันในตับทำให้ผลผลิตกุ้งลดลง 90 % อาการทั่วไป : ตับและตับอ่อนจะมีสะสมของกรดไขมันอิ่มตัวมากเกินไปไปให้เนื้อเยื่อบางส่วนของตับหายไป เมื่อนำตับอุ่นที่ 80 องศาเซลเซียสจะกลายเป็นของเหลว เมื่อปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัวเหมือนขี้ผึ้ง ตับและตับอ่อนจะมีไขมันประมาณ 45 % ของน้ำหนักแห้งกุ้งก้ามกรามที่มีการสะสมไขมันมากที่ตับจะทำให้ตับอักเสบและพบว่ามีการตายและจมอยู่ที่พื้นบ่อ การป้องกันโรค : งดส่วนผสมของอาหารที่เป็นแหล่งไขมันอิ่มตัว เช่น กากมะพร้าว ไขมันสัตว์บกเช่นน้ำมันหมู แหล่งไขมันควรใช้น้ำมันจากปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาหมึก ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่มาก

สุขภาพกุ้งก้ามกรามที่มีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
1. อาการกล้ามเนื้อตายเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว
2. อาการกุ้งก้ามกรามขาแดงและตาย เนื่องมาจากพื้นบ่อเน่าเสีย มีก๊าซพิษเกิดขึ้นในบ่อ บ่อผ่านการเลี้ยงมาเป็นระยะเวลานาน การแก้ปัญหา สามารถทำโดยการปรับสภาพพื้นบ่อให้ดีตากบ่อให้แห้งสนิทก่อนการเลี้ยง ในระหว่างการเลี้ยงควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก ๆ 7 วัน กรณีที่ไม่สามารถทำการถ่ายเทน้ำได้ควรมีการปรับสภาพพื้นบ่อโดยการใช้ซีโอไลท์หรือ ไคลแม็กซ์ ไคลน็อปทิโลไลท์ ตลอดจนการใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียที่พื้นบ่อ 3. อาการเปลือกนิ่ม อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อัลคาไลน์ในน้ำต่ำกว่า 80 พีพีเอ็ม. น้ำขาดแร่ธาตุ เช่น แคลเซี่ยม , แมกนีเซี่ยม , หรือ     อาจเกิดจาก อาหารที่กุ้งก้ามกรามกินมีธาตุอาหารน้อยเกินไป